ยินดีต้อนรับสู่ บล็อคชีววิทยา

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

 ชีววิทยา
ชีววิทยา เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับ สิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างมีเหตุผล  มีชื่อเรียกตรงกับ ภาษาอังกฤษว่า Biology  โดยมีความหมายคือ bios หมายถึง สิ่งมีชีวิต และlogos หมายถึง ความคิดอย่างมีเหตุมีผล ดังนั้นชีววิทยาจึงมีความหมายโดยรวมว่า เป็นวิชาที่ทำการศึกษาสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า อย่างมีเหตุมีผล โดยเป็นการศึกษาจะครอบคุม ทุกแง่ทุกมุมของสิ่งมีชัวิตโดยละเอียด และสิ่งมีชีวิตที่เราพูดถึงในที่นี้คือ คน และ สัตว์ต่างที่มีจำนวนมาก หลากหลายชนิด พืช ต้นไม้ ดอกไม้  โดยจะใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยในการศึกษา เพราะการศึกษาในทางชีววิทยา จะเป็นการศึกษาที่ลึก เข้าไปถึง การต้องจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ โดยต้องใช้ข้อมูลหลายอย่างในการจำแนก ,การศึกษาถึงระดับโมเลกุล มองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตอีกด้วย นอกจากนี้วิชาชีววิทยายังมีสาขาวิชาแยกย่อย ต่างๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการศึกษาเน้นเฉพาะเรื่อง เนื่องจากแต่ละเรื่องมีกระบวนการศึกษาที่ค่อนข้างซับซ้อน หลายขั้นตอน ซึ่งการแยกวิชาชีววิทยาเป็นแขนงต่างๆ จึงทำให้เป็นการง่ายต่อการศึกษาวิชาชีววิทยาเป็นอย่างมาก

ระบบหมุนเวียนเลือด

 ระบบหมุนเวียนเลือด


เมื่ออาหารถูกย่อยจนเล็กที่สุด แพร่เข้าสู่ผนังลำไส้เล็กและแพร่ผ่านเข้าสู่เส้นเลือดแล้วจะเคลื่อนที่ไปสู่
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายพร้อมกับเลือด
          ระบบการหมุนเวียนเลือด มีอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่ หัวใจ เส้นเลือด และเลือด



         
เลือด
(Blood)  ประกอบด้วย น้ำเลือด หรือพลาสมา(Plasma) และเม็ดเลือดซึ่งประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว และเซลล์เม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือด
(Platelet)   เม็ดเลือดแดงมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีน
และเหล็กมีชื่อเรียกว่า เฮโมโกลบิน ก๊าซออกซิเจน จะรวมตัวกับเฮโมโกลบินแล้วลำเลียงไปใช้ยังส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกาย  เม็ดเลือดขาวซึ่งผลิตโดยม้าม* จะทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย  ส่วนเกล็ดเลือดจะเป็นตัวช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเกิดบาดแผล
          น้ำเลือดประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ที่เหลื่อเป็นสารอาหารต่าง ๆ เช่นโปรตีน  วิตามิน  แร่ธาตุ  เอนไซม์  และก๊าซ

          เส้นเลือด(Blood  Vessel) คือท่อที่เป็นทางให้เลือดไหลเวียนในร่างกายซึ่งมี 3 ระบบ คือเส้นเลือดแดง 
เส้นเลือดดำ และเส้นเลือดฝอย

          หัวใจ(Heart) ตั้งอยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างเอียงไปทางซ้ายของแนวกลางตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรงภายในมี 4 ห้อง
     -หัวในห้องบนซ้าย(Left atrium)       มีหน้าที่ รับเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอด
     -หัวใจห้องบนขวา(Right atrium)      มีหน้าที่ รับเลือดที่ร่างกายใช้แล้ว
     -หัวใจห้องล่างขวา(Right ventricle)  มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอด
     -หัวใจห้องล่างซ้าย(Left ventricle)   มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

     ระหว่างหัวใจซีกซ้ายและซีกขวามีผนังที่เหนียว หนา และแข็งแรงกั้นไว้ และระหว่างห้องหัวใจด้านบนและด้านล่างของแต่ละซีก มีลิ้นของหัวใจคอยปิดกั้นมิให้เลือดไหลย้อนกลับ ดังนั้น การไหลเวียนของเลือดจึงเป็นการไหลไปในทางเดียวกันตลอด  ซึ่ง วิลเลียม ฮาร์วีย์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นคนแรกที่ค้นพบการหมุนเวียนของเลือด และชี้ให้เห็นว่า เลือดมีการไหลเวียนไปทางเดียวกัน


     การไหลเวียนของเลือดเริ่มโดยห้องบนขวารับเลือดดำที่ร่างกายใช้แล้ว ส่งไปยังห้องล่างขวา  ห้องล่างขวาจะฉีดเลือดดำไปฟอกที่ปอด   ในขณะเดียวกัน เลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดจะเข้าสู่หัวใจทางห้องบนซ้ายแล้วส่งต่อมายังห้องล่างซ้าย  หัวใจก็จะฉีดเลือดแดงออกจากห้องล้างซ้ายเข้าสู่เส้นเลือดใหญ่  ซึ่งต่อมาก็แยกออกเป็นเส้นเลือดเล็ก และเส้นเลือดฝอย  เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  เลือดที่ใช้แล้วก็จะไหลกลับมาที่หัวใจทางห้องบนขวาอีก  จะหมุนเวียนเช่นนี้ไปตลอดชีวิต เพื่อให้เห็นชัดเจนขอให้ดูแผนภาพต่อไปนี้


  
ซึ่งเราสามารถสรุปเป็นหน้าที่ของระบบหมุนเวียนโลหิตได้ดังนี้
     1. นำอาหารและสารอื่น ๆ รวมทั้งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของร่างกาย
     2. นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอดเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกลับมาใช้
     3. ขับถ่ายน้ำของเสียซึ่งเกิดจากเมตาโบลิซึมเพื่อขับออกภายนอกร่างกาย
     4. ช่วยควบคุมและรักษาดุลของสารน้ำภายในร่างกาย
     5. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ

stethoscope)



     ขณะหัวใจบีบตัวเลือดจะถูกดันออกไปตามหลอดเลือดจากหัวใจด้วยความดันสูงทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ขณะที่หัวใจรับเลือดเข้าไปนั้นก็จะมีความดันน้อยที่สุด ความดันเลือดที่แพทย์วัดออกมาได้ซึ่งมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอทจึงมีสองค่า  เช่น 110/70 มิลลิเมตรของปรอท
     ตัวเลข   110 แสดงค่าของความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวเพื่อดันเลือดออกจากหัวใจ
     ตัวเลข   70   แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวรับเลือดเข้าสู่หัวใจ


     ถ้าเราเอานิ้วมือจับที่ข้อมือด้านซ้าย  จะพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างเต้นตุ๊บ ๆ อยู่ภายใน  สิ่งนั้นเรียกว่า  ชีพจร
ชีพจรเป็นการหดตัวและขยายตัวของหลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ  โดยคนหนุ่มสาวปกติชีพจรจะเต้นประมาณ 70
80  ครั้ง /นาที  ในวัยเด็กที่มีสภาพร่างการปกติชีพจรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่  การออกกำลังกายก็มีผลต่ออัตราการเต้นของชีพจร  การออกกำลังกายทำให้ร่างกายต้องการพลังงานสูงขึ้นกว่าปกติ  จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอดมากขึ้น  การสูบฉีดเลือดจึงต้องสูงขึ้น  จะพบว่าชีพจรก็จะเต้นเร็วขึ้น  หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วขึ้น 
จึงกล่าวได้ว่าการเต้นของชีพจรสัมพันธ์กับระบบหายใจและระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย
เครื่องมือที่ใช้ในการฟังการเต้นของชีพจรคือ สเตโทสโคป  
( การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะภายในระบบ )
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

2. อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์
3. พักผ่อนให้มาก เพราะการพักผ่อนนอนหลับจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง
4. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศและวัย
5. ทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง  ไม่เครียด
6. งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด